เมนู

อรรถกถาวรรคที่ 31



อรรถกถาสูตรที่ 1



ในวรรคที่ 3 สูตรที่ 1 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิโฏ ได้แก่ ผู้ไม่เห็นตามความเป็นจริง. บทว่า
วิปรีตทสฺสโน ได้แก่ เป็นผู้มีความเห็นแปรปรวนไปตามความเห็นผิดนั้น
ทีเดียว. บทว่า สทฺธมฺมา วุฏฺฐาเปตฺวา ความว่า ให้ออกจากธรรม
คือกุศลกรรมบถ 10. บทว่า อสทฺธมฺเม ปติฏฺฐาเปติ ความว่า ให้
ตั้งอยู่ในอสัทธรรม กล่าวคืออกุศลกรรมบถ 10. ก็ในบทว่า เอกปุคฺคโล
นี้ พึงทราบว่า ได้แก่ พระเทวทัตกับครูทั้ง 6 และคนอื่น ๆ ที่เป็น
อย่างนี้.
จบอรรถกถาสูตรที่ 1

อรรถกถาสูตรที่ 2



ในสูตรที่ 2 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิโฏ ได้แก่ ผู้มีความเห็นตามความเป็นจริง.
บทว่า อวิปรีตทสฺสโน ได้แก่ ผู้มีความเห็นอันไม่แปรปรวนไป
จากความเห็นชอบนั้นนั่นแหละ. บทว่า อสทฺธมฺมา ความว่า จาก
อกุศลกรรมบถ 10. บทว่า สทฺธมฺเม ความว่า ในสัทธรรม กล่าวคือ
กุศลกรรมบถ 10. ก็ในบทว่า เอกปุคฺคโล นี้ ในเมื่อพระพุทธเจ้า
ยังมิได้เสด็จอุปบัติ ย่อมได้แก่บุคคลมีอาทิอย่างนี้ คือ พระเจ้าจักรพรรดิ

1. บาลี 191 - 204.

พระสัพพัญญูโพธิสัตว์ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติแล้ว ย่อมได้พระพุทธเจ้า
และสาวกของพระพุทธเจ้า.
จบอรรถกถาสูตรที่ 2

อรรถกถาสูตรที่ 3



ในสูตรที่ 3 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิปรมานิ นี้ มีวิเคราะห์ว่า มิจฉาทิฏฐิเป็น
อย่างยิ่งของโทษเหล่านั้น เหตุนั้น โทษเหล่านั้น ชื่อว่า มิจฺฉาทิฏฐิ-
ปรมานิ โทษทั้งหลายมีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง.
อธิบายว่า อนัน-
ตริยกรรม 5 ชื่อว่ากรรมมีโทษมาก. มิจฉาทิฏฐิเท่านั้น ชื่อว่ามีโทษ
มากกว่าอนันตริยกรรม 5 แม้เหล่านั้น.
ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะอนันตริยกรรม 5 นั้นมีเขต
กำหนด. ด้วยว่า ท่านกล่าวอนันตริยกรรม 4 อย่างว่า ให้เกิดในนรก.
แม้สังฆเภทก็เป็นกรรมตั้งอยู่ในนรกชั่วกัปเท่านั้น. อนันตริยกรรมเหล่านั้น
มีเขตกำหนดที่สุด ก็ยังปรากฏ ด้วยประการอย่างนี้. ส่วนนิยตมิจฉาทิฏฐิ
คือ ความเห็นผิดอันดิง ไม่มีเขตกำหนด เพราะนิยตมิจฉาทิฏฐินั้นเป็นราก
เหง้าของวัฏฏะ. การออกไปจากภพ ย่อมไม่มีสำหรับคนผู้ประกอบด้วย
นิยตมิจฉาทิฏฐินั้น . ชนเหล่าใด เชื่อฟังถ้อยคำของตนผู้ประกอบด้วย
นิยตมิจฉาทิฏฐินั้น แม้ชนเหล่านั้นก็ย่อมปฏิบัติผิด. อนึ่ง ทั้งสวรรค์
ทั้งมรรค ย่อมไม่มีแก่คนผู้ประกอบด้วยนิยตมิจฉาทิฏฐินั้น ในคราวกัป
พินาศ เมื่อมหาชนพากันเกิดในพรหมโลก บุคคลผู้เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ
ไม่เกิดในพรหมโลกนั้น (แต่กลับ) เกิดที่หลังจักรวาล. ถามว่า ก็หลัง